วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

ตรรกศาสตร์เบื้องต้น1

ตรรกศาสตร์เบื้องต้น


ความหมายของศัพท์ตรรกศาสตร์

                      คำว่า ตรรกศาสตร์ ได้มาจากศัพท์ภาษาสันสฤตสองศัพท์ คือ ตรฺรก และศาสตฺร   ตรรก หมายถึง การตรึกตรอง ความคิด ความนึกคิด และคำว่า ศาสตฺร หมายถึง วิชา ตำรา รวมกันเข้าเป็น ตรรกศาสตร์หมายถึง วิชาว่าด้วยความนึกคิดอย่างเป็นระบบ ปราชญ์ทั่วไปจึงมีความเห็นร่วมกันว่า ตรรกศาสตร์ คือ วิชาว่าด้วย การใช้กฎเกณฑ์

การใช้เหตุผล

      วิชาตรรกศาสตร์นั้นมีนักปราชญ์ทางตรรกศาสตร์ได้นิยามความหมายไว้มากมาย นักปราชญ์เหล่านั้น คือ

1.พจนานุกรมศัพท์ปรัชญาอังกฤษ ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน นิยามความหมายว่า ตรรกศาสตร์ คือ ปรัชญาสาขาที่ว่าด้วยการวิเคราะห์และตัดสินความสมเหตุสมผลในการอ้างเหตุผล

2.กีรติ บุญเจือ นิยามความหมายว่า ตรรกวิทยา คือ วิชาที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์การใช้เหตุผล

3.”Wilfrid Hodges” นิยามความหมายว่า ตรรกศาสตร์ คือ การศึกษาระบบข้อเท็จจริงให้ตรงกับความเชื่อ


ประพจน์ (Proposition)

     ประพจน์ คือ ประโยคที่เป็นจริงหรือเป็นเท็จเพียงอย่างเดียวเท่านั้น


      ประโยคเหล่านี้อาจจะอยู่ในรูปประโยคบอกเล่าหรือประโยคปฏิเสธก็ได้

     

       ประโยคต่อไปนี้เป็นประพจน์

          จังหวัดชลบุรีอยู่ทางภาคตะวันออกของไทย ( จริง )

          

          5 × 2 = 2 + 5 ( เท็จ )

        


       ประโยคไม่เป็นประพจน์

          โธ่คุณ ( อุทาน )


           กรุณาปิดประตูด้วยครับ ( ขอร้อง )


          ท่านเรียนวิชาตรรกวิทยาเพื่ออะไร ( คำถาม )

     

ประโยคเปิด (Open sentence)

บทนิยาม ประโยคเปิดคือ ประโยคบอกเล่า ซึ่งประกอบด้วยตัวแปรหนึ่งหรือมากกว่าโดยไม่เป็นประพจน์ แต่จะเป็นประพจน์ได้เมื่อแทนตัวแปรด้วยสมาชิกเอกภพสัมพัทธ์ตามที่กำหนดให้ นั่นคือเมื่อแทนตัวแปรแล้วจะสามารถบอกค่าความจริง


ประโยคเปิด เช่น

1.เขาเป็นนักบาสเกตบอลทีมชาติไทย

2. x + 5 =15

3. y < - 6


ประโยคที่ไม่ใช่ประโยคเปิด เช่น

1.10 เป็นคำตอบของสมการ X-1=7

2.โลกหมุนรอบตัวเอง

3.จงหาค่า X จากสมการ 2x+1=8



ตัวเชื่อม (connective)


              1. ตัวเชื่อมประพจน์ และ ( conjunetion ) ใช้สัญลักษณ์แทน Ùและเขียนแทนด้วย P Ù Q แต่ละประพจน์มีค่าความจริง(truth value) ได้ 2 อย่างเท่านั้น คือ จริง(True) หรือ เท็จ(False) ถ้าทั้ง P และ Qเป็นจริงจะได้ว่า PÙQ เป็นจริง กรณีอื่นๆ P Ù Q เป็นเท็จ เราให้นิยามค่าความจริง P Ù Q

           โดยตารางแสดงค่าความจริง (truth table) ดั้งนี้





P

Q

P Ù Q

T

T

F

F

T

F

T

F

T

F

F

F



                              ตัวอย่าง  5+1 = 6 Ù 2 น้อยกว่า 3 (จริง)

5+1 = 6 Ù 2 มากกว่า 3 (เท็จ)

 

5+1 = 1 Ù 2 น้อยกว่า 3 (เท็จ)

 

5+1 = 1 Ù 2 มากกว่า 3 (เท็จ)


             2. ตัวเชื่อมประพจน์ หรือ ( Disjunction ) ใช้สัญลักษณ์แทน V และเขียนแทนด้วย P V Q และเมื่อ P V Q

จะเป็นเท็จ ในกรณีที่ทั้ง P และ Q เป็นเท็จเท่านั้น กรณีอื่น P V Q เป็นจริง เรา


ให้นิยามค่าความจริงของ P V Q

ตัวอย่างตารางค่าความจริง ดังนี้


P

Q

P V Q

T

T

F

F

T

F

T

F

T

T

T

F


ตัวอย่าง 5 + 1 = 6 V 2 น้อยกว่า 3 (จริง)


          5 + 1 = 6 V 2 มากกว่า 3 (จริง)

              

         5 + 1 = 1 V 2 น้อยกว่า 3 (จริง)
 

         5 + 1 = 1 V 2 มากกว่า 3 (เท็จ)

            3. ตัวเชื่อมประพจน์ ถ้า….แล้ว” Conditional) ใช้สัญลักษณ์แทน ® และเขียนแทนด้วย P®Q

นิยามค่าความจริงของ P®Q โดยแสดงตารางค่าความจริงดังนี้


P

Q

P®Q

T

T

F

F

T

F

T

F

T

F

T

T


                                ตัวอย่าง  1 < 2 ® 2 < 3 (จริง)

                                                1 < 2 ® 3 < 2 (เท็จ)

                                                2 < 1 ® 2 < 3 (จริง)

                                                2 < 1 ® 3 < 2 (จริง)


             4. ตัวเชื่อมประพจน์ ก็ต่อเมื่อ (Biconditional) ใช้สัญลักษณ์แทน « และเขียนแทนด้วย P«Q

นั้นคือ P«Q จะเป็นจริงก็ต่อเมือ ทั้ง P และ Q เป็นจริงพร้อมกันหรือทั้ง P และ Q เป็นเท็จพร้อมกันตารางแสดงค่าความจริงของ P«Q



P

Q

P«Q

T

T

F

F

T

F

T

F

T

F

F

T


ตัวอย่าง 1 < 2 « 2 < 3 (จริง)


          1 < 2 « 3 < 2 (เท็จ)


          2 < 1 « 2 < 3 (จริง)


           2 < 1 « 3 < 2 (เท็จ)



การให้เหตุผล (Reasoning)


โดยทั่วไปกระบวนการให้เหตุผลมี 2 ลักษณะคือ


 



1.การให้เหตุผลแบบนิรนัย เป็นการให้เหตุ โดยนำข้อความที่กำหนดให้ ซึ่ง ต้องยอมรับว่าเป็นจริง ทั้งหมด เรียกว่า เหตุ และข้อความจริงใหม่ที่ได้เรียกว่า ผลสรุป ซึ่งถ้า พบว่าเหตุที่กำหนดนั้นบังคับให้เกิดผลสรุปไม่ได้ แสดงว่า การให้เหตุผลดังกล่าวสมเหตุสมผล แต่ถ้าพบว่าเหตุที่กำหนดนั้นบังคับให้เกิดผลสรุปไม่ได้แสดงว่า การให้เหตุผลดังกล่าวไม่สมเหตุสมผล

ตัวอย่าง เหตุ 1. คนทุกคนต้องหายใจ

                2 . นายเด่นต้องหายใจ

           ผลสรุป นายเด่นต้องหายใจ

จะเห็นว่า จากเหตุที่1 และเหตุที่ 2 บังคับให้เกิดผลสรุปดังนั้นการให้เหตุผลนี้สมเหตุสมผลสมเหตุสมผล


2.การให้เหตุผลแบบอุปนัย เป็น การให้เหตุผลโดยอาศัยข้อสังเกตหรือผลการทดลองจากหลายๆตัวอย่าง มาสรุปเป็นข้อตกลง หรือข้อคาดเดาทั่วไป หรือ คำพยากรณ์และจะต้องมีข้อสังเกต หรือ ผลการทดลอง หรือ มีประสบการณ์ที่มากพอที่จะปักใจเชื่อได้ แต่ก็ยังไม่สามารถแน่ใจในผลสรุปได้เต็มที่เหมือนกับการให้เหตุผลแบบนิรนัย

ตัวอย่างการให้เหตุผลแบบอุปนัย เช่น เราเคยเห็นว่ามีปลาจำนวนมากที่ออกลูกเป็นไข่ เราจึงอนุมานว่า ปลาทุกชนิดออกลูกเป็นไข่ซึ่งกรณีนี้ถือว่าไม่สมเหตุสมผล ทั้งนี้เพราะข้องสังเกตหรือ ตัวอย่างที่พบว่ายังไม่มากพอที่จะสรุป เพราะโดยข้อเท็จจริงแล้วมีปลาบางชนิดที่ออกลูกเป็นตัว เช่น ปลาหางนกยูง เป็นต้น


 ตัวอย่างความสมเหตุสมผลของการให้เหตุผลโดย

ตัวอย่างที่ 1 เหตุ 1 : คนทุกคนเป็นสิ่งที่มีสองขา

          เหตุ 2 : ตำรวจทุกคนเป็นคน

             ผลสรุป ตำรวจทุกคนเป็นสิ่งที่มีสองขา



 


แหล่งที่มา      http://logic-computer.blogspot.com      วันที่13 กันยายน 2556






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น